จ่ายหนี้ หรือออมเงิน - ทำอะไรก่อนหลังดี?

icon 14 พ.ย. 57 icon 19,564
จ่ายหนี้ หรือออมเงิน - ทำอะไรก่อนหลังดี?

จ่ายหนี้ หรือออมเงิน - ทำอะไรก่อนหลังดี? 

คำถามสำคัญของคนที่กำลังมีหนี้อยู่ก็คือ พอได้เงินมาก้อนหนึ่งแล้ว เราควรจะเก็บออมเงินนั้นไว้ หรือเราควรจะเอาไปจ่ายหนี้ดีกว่า ในมุมมองหนึ่ง ถ้าเราปล่อยให้หนี้เยอะต่อไป ก็อาจเป็นปัญหากับเราได้ และโดยปกติหนี้ดอกเบี้ยก็มีแต่จะบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีหยุด แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเอาเงินไปจ่ายหนี้หมดเลย แล้วดันเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องใช้เงินขึ้นมา เราอาจต้องไปก่อหนี้เพิ่ม หรือเป็นหนี้มากกว่าเดิมเสียอีก วันนี้ Checkraka มีข้อเสนอแนะดีๆ ในเรื่องนี้มาฝากกันครับ

ไม่มีคำตอบตายตัวขึ้นกับ 2 ปัจจัย

ในเรื่องนี้ เราบอกได้เลยครับว่าไม่มีคำตอบตายตัวว่าจะเป็นแบบไหน และไม่สามารถบอกได้ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน หรือควรจะทำอะไรก่อนหลัง เพราะในชีวิตจริง แต่ละคนก็มีปัจจัยรอบตัวที่แตกต่างกัน ที่นี้คำถามคือ แล้วอะไรคือปัจจัยพวกนั้นล่ะ? คำตอบคือ 2 ปัจจัยนี้ครับ (1) เราต้องดูว่าหนี้ที่เรามีอยู่เป็นหนี้ประเภทไหน และ (2) โอกาสเกิดขึ้นของเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เราต้องใช้เงินมีมากน้อยแค่ไหน 
1. มีหนี้ประเภทไหน?
หนี้แต่ละประเภทมีภาระไม่เหมือนกัน หนี้แบบหนักๆ เลยก็คือหนี้สินเชื่อเงินสด บัตรเครดิต และหนี้เงินกู้นอกระบบ โดยหนี้สองประเภทแรกดอกเบี้ยสูงมาก ในขณะที่หนี้นอกระบบก็มักจะมีดอกเบี้ยสูงเช่นกัน และมีความสุ่มเสี่ยงต่อชีวิต หรือง่ายต่อการโดนยึดทรัพย์ (แบบใช้กำลัง!!!) ด้วย ถ้าเราเกิดเบี้ยว หรือจ่ายไม่ได้ขึ้นมา ดังนั้น ถ้าหนี้ส่วนใหญ่ของเราเป็นหนี้พวกนี้ เราควรต้องเอาเงินไปโปะหนี้พวกนี้ครับ เพราะหากเราได้เงินก้อนมา การนำเงินไปฝาก หรือไปลงทุน โอกาสน้อยมากที่เราจะได้ผลตอบแทนมากกว่าหนี้พวกนี้

ขอบคุณภาพจาก www.posttoday.com
แต่ถ้าหนี้ที่เรามีเป็นหนี้ประเภทหนี้สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรถยนต์ สถานการณ์เราจะเปลี่ยนไป เพราะหนี้พวกนี้ดอกเบี้ยจะต่ำกว่าหนี้ประเภทข้างบนเยอะมาก หรือหนี้สินเชื่อรถยนต์ก็คำนวณดอกเบี้ยผสมเข้าไปหมดแล้ว ดังนั้น ถ้าเรามีแต่หนี้พวกนี้ เราก็ควรจะเอาเงินที่ได้มาไปออมไว้ซะ แล้วทยอยจ่ายหนี้พวกนี้ไปเรื่อยๆ ตามกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้กำหนด นอกจากนี้ การยินดีผ่อนหนี้บ้าน หรือสินเชื่อรถยนต์อย่างตรงเวลาไปเรื่อยๆ จะเป็นการสร้างเครดิตที่ดีให้เราไปในตัวด้วย เพราะธนาคารจะมองเราเป็นลูกหนี้ชั้นดี และโอกาสได้สินเชื่อในอนาคตก็ดีขึ้นตามไปด้วย
2. โอกาสเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องใช้เงินมีมากแค่ไหน?
โชคชะตาชีวิตคนเราไม่เหมือนกัน บางคนเจอแต่เรื่องโชคดี บางคนก็เจอแต่เรื่องโชคร้าย แต่ความจริงของชีวิตก็คือว่า ไม่มีใครคาดเดาอนาคตได้ครับ ทีนี้คำถามว่าอะไรที่จะมีผลกระทบกับชีวิตเราได้บ้าง และเป็นปัจจัยตัดสินว่าเราควรเลือกจะจ่ายหนี้ หรือเก็บออมเงินไว้ ทาง Checkraka มีข้อเสนอเรื่องนี้มาฝากกันครับ
  • ความมั่นคงในหน้าที่การงาน - เรามีหน้าที่การงานมั่นคง หรือไม่มั่นคงแค่ไหน? เรามีโอกาสต้องเปลี่ยนงานบ่อยหรือไม่? เราเบื่อหรือเกลียดงานที่ทำอยู่หรือไม่?
  • ครอบครัว - เราต้องเลี้ยงดู หรือดูแลใครในครอบครัวหรือเปล่า? เราเป็นคนโสด และมีพี่น้องหลายคนหรือเปล่า? เราวางแผนจะสร้างครอบครัวตัวเองเร็วๆ นี้หรือเปล่า?
  • ที่อยู่อาศัย - ตอนนี้เราเช่าบ้านเขาอยู่ หรือเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเอง? ค่าใช้จ่ายการเช่าบ้านรายเดือนเท่าไหร่? ถ้าเราเป็นเจ้าของบ้านเองตอนนี้ภาระค่าใช้จ่ายเดือนๆ หนึ่ง ประมาณเท่าไหร่?
  • การเดินทาง - เราใช้รถหรือเปล่า? ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถเราเดือนละประมาณเท่าไหร่? หรือเราไม่มีรถแต่เน้นใช้ขนส่งสาธารณะเป็นหลัก และค่าใช้จ่ายขนส่งสาธารณะพวกนี้เราคาดการณ์ได้แน่นอนว่าหรือเปล่าว่าใช้จ่ายเท่าไหร่ในแต่ละเดือน?
  • สุขภาพ - เราหรือคนในครอบครัวค่อนข้างแข็งแรงหรือเปล่า? หรือมีโอกาสของการป่วยเป็นโรคสูงหรือไม่?  เรามีประวัติการป่วยมากน้อยแค่ไหน?
ปัจจัยทุกเรื่องข้างบนเป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเวลาที่เราจะตัดสินใจว่าจะเก็บเงินออมไว้เท่าไหร่ดี และจะใช้หนี้เท่าไหร่ดี โดยภาพรวมก็คือ ถ้าบังเอิญหน้าที่การงานเรายังไม่ค่อยมั่นคง มีลูกเล็ก ขับรถไปทำงานประจำ และก็เข้า-ออกโรงพยาบาลบ่อยเสียด้วย แบบนี้ก็มีความจำเป็นแน่นอนที่เราจะต้องมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินสักก้อนใหญ่ๆ ครับ และจ่ายหนี้แบบประคองไปเรื่อยๆ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเป็นคนที่มีหน้าที่การงานมั่นคงอยู่แล้ว ยังไม่มีลูก เช่าบ้านอยู่เป็นหลัก และใช้ขนส่งสาธารณะเดินทางไปทำงาน และสุขภาพโดยรวมค่อนข้างแข็งแรง เราอาจเน้นจ่ายหนี้เป็นหลักเพื่อให้หนี้หมดให้เร็วที่สุด เพราะเราอาจยังไม่ต้องมีเงินเก็บฉุกเฉินเป็นจำนวนที่มากมายนักในตอนนี้

สรุปทางเลือกมี 3 Choices

ในชีวิตจริงมนุษย์เราทุกวันนี้ เราจึงมีทางเลือกทางเลือก 3 อย่างครับ
1. เน้นจ่ายหนี้อย่างเดียว และไม่ต้องสนใจเงินเก็บมากนัก
2. ทยอยจ่ายหนี้ทีละนิดไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะเก็บเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้ก้อนใหญ่ๆ ก้อนหนึ่ง
3. ให้ความสำคัญ และทำทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันคือจ่ายหนี้มากเท่าที่จะทำได้ และเก็บเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินให้มากเท่าที่จะทำได้เช่นกัน
ดังนั้น โดยรวมแล้ว ถ้าเรามีหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อเงินสด หรือเงินกู้นอกระบบเยอะ แต่ยังโสดและร่างกายโดยรวมแข็งเรง เราอาจเน้นที่การชำระหนี้พวกนี้ให้หมด หรือให้เหลือน้อยที่สุด แต่ถ้าชีวิตเรามีโอกาสสูงเรื่องป่วยบ้างล่ะ หรือมีภาระต้องเลี้ยงลูกบ้างล่ะ และมีแค่หนี้สินเชื่อรถยนต์อย่างเดียว เราอาจเน้นที่จะออมเงินให้ได้เงินก้อนใหญ่ๆ ไว้สักก้อนหนึ่งเผื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน แต่ถ้าเรามีทั้งหนี้บัตรเครดิต หรือเงินกู้นอกระบบ แล้วก็เป็นคนป่วยบ่อย หรือมีลูกเล็ก เราควรต้องเน้นทั้งออมเงิน และชำระหนี้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

สุดท้ายนี้ ทาง Checkraka หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับพวกเราทุกคนนะครับ จริงๆ แล้วทางเลือกในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ก็เปรียบเสมือนการตัดสินใจแทงพนัน คือเราไม่มีทางรู้อนาคตได้เลยว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือการประเมินสถานการณ์ และคาดเดาความเป็นไปได้ของชีวิตเรา ซึ่งถ้าเราประเมิน หรือคาดเดาถูก โอกาสที่เราจะจัดสรรหนี้ และจำนวนเงินออมได้อย่างลงตัวเพื่อชีวิตที่ยั่งยืนมีความสุข ก็น่าจะมีสูงขึ้นแน่นอนครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)