ระวังภัย... แก๊งคอลเซ็นเตอร์

icon 16 ก.พ. 58 icon 19,095
ระวังภัย... แก๊งคอลเซ็นเตอร์


ระวังภัย...แก๊งคอลเซ็นเตอร์
หลายคนคงเคยได้ยินข่าว แก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติกันมาบ้างแล้ว และบางคนอาจเคยตกเป็นเหยื่อ หรือเกือบจะตกเป็นเหยื่อมาแล้วด้วยซ้ำ แล้วเราจะระวังภัยจากพวกแก๊งต้มตุ๋นเหล่านี้ได้อย่างไร... ตามไปดูกัน

รวมฮิตมุกเด็ด... แก๊งคอลเซ็นเตอร์
แก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้จะทำงานกันอย่างเป็นขบวนการ เริ่มจากล่อเหยื่อให้เข้ามาติดกับโดยใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติ แอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้สามารถทำให้โทรศัพท์แสดงหมายเลขของหน่วยงานราชการต่างๆ ได้ จากนั้นจะสานต่อความตกใจโดยแอบอ้างถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายของเหยื่อ หรือใช้จุดอ่อน เช่น ความโลภ ความกลัว และความไม่รู้เท่าทันมาหลอกลวง โดยมีมุกที่มักนำมาใช้แอบอ้าง ดังนี้

1. ล่อหลอกด้วยผลประโยชน์ที่จะได้รับจากเหตุการณ์ต่างๆ
  • คืนเงินค่าภาษี: อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร แจ้งเหยื่อว่าได้รับการลดภาษีเงินได้ และวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะทำเรื่องคืนเงิน จึงโทรมาให้เหยื่อทำเรื่องขอคืนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มตามคำสั่งทันที แต่ความจริงเป็นการโอนเงินไปให้มิจฉาชีพ

  • โชคดีรับรางวัลใหญ่: อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทเปิดใหม่ จึงมีการจับสลากหรือมอบรางวัลที่มูลค่าสูงให้แก่ลูกค้า แต่เหยื่อต้องจ่ายภาษีก่อนจึงจะส่งรางวัลไปให้

  • เงินคืนประกันชีวิต: อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัย แจ้งเหยื่อว่าญาติเหยื่อที่เสียชีวิตได้ทำประกันไว้เป็นเงินจำนวนมาก แต่ขาดเบี้ยประกันอีกจำนวนหนึ่ง จึงหลอกให้เหยื่อจ่ายเงินส่วนนี้เพื่อแลกกับเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนมาก
  • นายหน้าพาเข้าทำงาน: อ้างว่าเป็นบุคคลมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในบริษัท หรือองค์กรใหญ่ๆ หลอกเหยื่อว่า สามารถพาเหยื่อเข้าทำงานที่องค์กรนั้นได้ แต่เหยื่อต้องจ่ายค่านายหน้า หรือค่าดำเนินการต่างๆ ก่อน
  • นายหน้าหาสินเชื่อ: อ้างว่าเป็นบุคคลที่สามารถช่วยเหลือเหยื่อที่มีประวัติทางการเงินไม่ผ่านเกณฑ์เงินกู้ธนาคาร โดยอ้างว่ารู้จักกับทนายหรือเจ้าหน้าที่ธนาคารที่สามารถช่วยได้ แต่เหยื่อจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการดำเนินการก่อน

2. หลอกให้ตกใจ แล้วฉกเงินไปโดยไม่รู้ตัว
  • หนี้บัตรเครดิต: อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน แล้วแจ้งว่าเหยื่อเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งต้องชำระภายในวันนี้

  • บัญชีเงินฝากถูกอายัด: อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน แล้วแจ้งว่าบัญชีของเหยื่อถูกอายัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ขอให้เหยื่อยืนยันข้อมูลส่วนตัว แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปทำธุรกรรมทางการเงินในนามของเหยื่อหรือหลอกเหยื่อให้ไปยกเลิกรายการที่ตู้เอทีเอ็ม
  • โอนเงินผิด: อ้างว่าได้โอนเงินผิดเข้าบัญชีของเหยื่อ ขอให้เหยื่อโอนเงินคืนให้ และเมื่อเหยื่อโอนเงินคืนให้ เหยื่อก็จะกลายเป็นหนี้ธนาคารแทน เพราะเงินที่เหยื่อโอนนั้น เป็นเงินที่มิจฉาชีพขอสินเชื่อในนามของเหยื่อ หรือเป็นเงินผิดกฎหมายที่มิจฉาชีพหลอกให้คนอื่นโอนเข้ามา
  • บัญชีเงินฝากพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด: อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งว่ามีเงินโอนจากกลุ่มค้ายาเสพติดมายังบัญชีของเหยื่อแล้วให้โอนกลับ มิฉะนั้นจะถูกอายัดทุกบัญชี
  • ข้อมูลส่วนตัวหาย: อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน แจ้งว่าข้อมูลของเหยื่อหายไป ให้เหยื่อแจ้งข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขที่บัตรประชาชน เลขที่บัญชีเพื่อยืนยันการใช้บัญชี ไม่เช่นนั้นบัญชีจะถูกอายัด



เรื่องราวของวัลลภเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างในอีกหลากหลายรูปแบบการหลอกลวงของพวกแก๊งต้มตุ๋นที่มักจะแอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการ หรือใช้หมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานราชการ โทรมาหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ และโอนเงินให้ตามคำกล่าวอ้าง



ทำอย่างไรให้ปลอดภัยจากการถูกหลอกลวง...


คาถากันภัย...จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์

  • ตั้งสติ คิดทบทวนว่าข้อความหรือข้อมูลที่ได้รับเป็นจริงหรือไม่
  • ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขที่บัตรประชาชน วัน/เดือน/ปีเกิด รวมไปถึงข้อมูลการเงิน เช่น เลขที่บัญชี รหัสกดเงิน หรือแม้แต่วงเงินบัตรเครดิต หากเป็นเจ้าหน้าที่จากสถาบันการเงินจริง จะต้องทราบรายละเอียดของผู้ที่ต้องการติดต่ออยู่ก่อนแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องถามชื่อ-นามสกุลเพิ่มเติม
  • ไม่ทำรายการตามคำบอกผ่านทางโทรศัพท์ แม้จะได้รับการบอกกล่าวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือสถาบันการเงิน เพราะหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัวลูกค้าหรือประชาชนผ่านทางโทรศัพท์
  • ไม่โลภอยากได้เงินรางวัลที่ไม่มีที่มา จำไว้ว่า "ของถูก ของดี ของฟรี ไม่มีในโลก" เผลอๆ อาจได้ของแถม เพราะเข้าไปพัวพันกับธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงินโดยไม่รู้ตัว
  • หากสงสัยต้องตรวจสอบ โดยติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของสถาบันเรเงินหรือหน่วยงานนั้น เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง โดยตรวจสอบเบอร์โทรจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น 1133 หรือเว็บไซต์ของสถาบันการเงินหรือหน่วยงานนั้นๆ หรือสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213

5 สิ่งที่ควรทำ...หลังตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์
  1. ทำ... การรวบรวมหลักฐานและข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้ และตั้งสติให้ดี 
  2. ทำ... การแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ณ ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการระงับการโอนเงิน
  3. ทำ... การแจ้งระงับการโอนเงิน ไปยังฝ่ายบริการลูกค้าของสถาบันการเงินนั้น หากถูกหลอก หรือเพื่อขอความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
  4. ทำ... การแจ้งเบาะแส ไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) 
  5. ทำ... ใจ เงินที่โอนไปให้มิจฉาชีพแล้ว โอกาสที่จะได้คืนนั้นมีน้อยมาก ยกเว้นผู้เสียหายสามารถแจ้งระงับการโอนก่อนที่มิจฉาชีพจะถอนเงินออกไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)