เทคนิคตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม

icon 1 ก.ค. 56 icon 34,195
เทคนิคตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม

เทคนิคตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม
ที่ผ่านมาการทุจริตผ่านบัตรเครดิต เป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างขึ้นทั่วโลก วิธีที่พบบ่อยที่สุดในเมืองไทย คือ การปลอมบัตร การแอบอ้างเป็นผู้ถือบัตรจริง รวมถึงการคัดลอกข้อมูลจากบัตร หรือที่เรียกว่า สกิมมิ่ง (Skimming) บัตรที่ปลอมเหมือนของจริงถึง 85 เปอร์เซ็นต์ แต่มีจุดสังเกต บัตรเครดิตปลอมจะบางกว่า ประเภทบัตรเครดิตปลอมที่พบมากที่สุด มีทั้งบัตรเครดิตที่เป็นอินเตอร์ วีซ่าต่างๆ รวมทั้งบัตรโดเมสติก (Domestic หรือ Local) ที่ใช้ได้เฉพาะในประเทศ แต่มีการปลอมน้อยกว่าเพราะว่าทำแล้วไม่คุ้มที่จะถูกจับ ฉะนั้นเรามาดูเทคนิคการตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม ดังนี้
  1. บัตรวีซ่าและบัตรมาสเตอร์การ์ดจะมีหมายเลข 4 หลักแรก พิมพ์ไว้บนบัตรบริเวณใต้หมายเลขบัตรที่ปั๊มนูน 4 ตัวเลข โดยเลข 4 หลักที่พิมพ์กับที่ปั๊มนูนจะต้องเป็นเลขเดียวกัน 
  2. หมายเลขบัตรที่ปั๊มนูนไม่ชัดเจนหรือไม่เสมอกันหรือไม่ 
  3. ภาพสามมิติบนบัตรต้องขยับได้เมื่อขยับบัตร 
  4. ตรวจดูว่าหมายเลขบัตรที่ปั๊มนูนตรงกันกับหมายเลขบนสลิปที่พิมพ์ออกมาหรือไม่
กฎสำหรับผู้ถือบัตร
  1. เซ็นชื่อลงบนแถบลายเซ็นทันที 
  2. จดหมายเลขบัตรเครดิต และหมายเลขโทรสำหรับแจ้งบัตรหาย และเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย และหาได้ง่ายในยามฉุกเฉิน 
  3. ไม่ควรตั้งรหัสเอทีเอ็มโดยใช้ข้อมูลส่วนตัวซึ่งง่ายต่อการคาดเดา ไม่ว่าจะเป็นชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด 
  4. ควรจำรหัสเอทีเอ็มให้ได้ ถ้าคุณจำเป็นต้องจดรหัสเอทีเอ็ม ก็ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือ หรือเก็บไว้ใกล้กับบัตร 
  5. ไม่ควรบอกรหัสเอทีเอ็มของคุณให้บุคคลอื่นทราบ คุณควรเก็บรหัสนี้ไว้รู้เพียงคนเดียว
กฎสำหรับร้านค้า
ในส่วนของร้านค้าเองก็สามารถช่วยสกัดกั้นแก๊งมิจฉาชีพ โดยมีวิธีการสังเกตว่าผู้ที่กำลังจะชำระเงินด้วยบัตรเครดิตเป็นโจรร้ายที่แฝงตัวมาในคราบของลูกค้าหรือไม่ ดังต่อไปนี้
  1. ชื่อที่ปรากฏบนบัตรกับผู้ถือบัตรมีความสอดคล้องกันหรือไม่ ไม่ใช่ตัวเป็นผู้ชายแต่ชื่อบนบัตรเป็นชื่อเพศหญิง หรือเป็นชาวต่างชาติแต่บนบัตรเป็นชื่อคนไทย เป็นต้น 
  2. ลูกค้าแสดงพิรุธอะไรหรือไม่ หรือพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของพนักงานจากบัตรหรือไม่ 
  3. สังเกตลักษณะการซื้อสินค้าของลูกค้าดูผิดปกติวิสัยหรือไม่ เช่น ซื้อของชนิดเดียวกันมากผิดปกติ หรือซื้อโดยไม่ใส่ใจว่าของราคาเท่าไหร่
ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรเก็บรักษาบัตรเช่นเดียวกับที่คุณเก็บรักษาเงินสด มิฉะนั้น คุณอาจต้องรับผิดชอบต่อหนี้ที่เกิดขึ้นจากบัตรที่ถูกขโมยหรือจากข้อมูลบัตรที่ถูกผู้อื่นลักลอบนำไปใช้ รวมทั้งต้องมาเสียเวลากับการแจ้งยกเลิกบัตรและเปลี่ยนบัตรใหม่
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)