x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับมือเครือซีพีเตือนภัยประชาชน ป้องกันโจรไซเบอร์ต่อเนื่อง

ข่าว icon 15 มิ.ย. 66 icon 739
เมื่อเร็วนี้ๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมหารือกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ถึงความคืบหน้าโครงการ “ไซเบอร์วัคซีน” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากจะมีการร่วมผลิตและเผยแพร่ข้อมูลความรู้กลโกงในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารของเครือซีพีซึ่งมีธุรกิจค้าปลีกค้าส่งและธุรกิจโทรคมนาคม เพื่อเตือนภัยทุจริตทางการเงินบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นวัคซีนที่ใช้เป็นภูมิคุ้มกันให้พี่น้องประชาชนได้รู้เท่าทันและรับมือมิจฉาชีพได้โดยไม่ตกเป็นเหยื่อแล้วนั้น ล่าสุด บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ประกาศพร้อมให้การสนับสนุนด้านระบบและเทคโนโลยี เพื่อช่วยป้องกันประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อถูกทุจริตทางการเงินโดยมิจฉาชีพ
โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดเผยว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14 – 20 พ.ค. 2566) สถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
1. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ
2. คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ
3. คดีหลอกลวงให้กู้เงิน
4. คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ
5. คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
ด้านนายอธิปัตย์ พลอยพรายแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบทุจริต บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด เปิดเผยว่า  ทรูมันนี่ ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความตระหนักถึงภัยออนไลน์ที่ถือว่าสร้างความกังวลและความกลัวให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทรูมันนี่ได้นำเสนอแนวทางเพื่อช่วยเหลือในการติดตามผู้กระทำความผิด หรือกลุ่มของมิจฉาชีพกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ทั้งนี้ ทรูมันนี่ เตรียมสนับสนุนเทคโนโลยีในการทำระบบฐานข้อมูลกลาง (Pool Database) เพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลของบุคคลที่กระทำความผิดด้านการเงิน ที่สามารถใช้ตรวจสอบและวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง  โดยหากระบบดังกล่าวแล้วเสร็จ ก็จะช่วยมอบการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมในรูปแบบใหม่แก่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงองค์กรอื่นๆ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ทรูมันนี่ยังมีแผนจัดสัมมนาโดยได้ความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ให้กับประชาชนอีกด้วย
โดยที่ผ่านมา ทรูมันนี่ ได้ยกระดับมาตรการด้านความปลอดภัยให้เข้มงวดมากขึ้นตลอดเส้นทางการทำธุรกรรม  ด้วยการกำหนดให้ใช้ฟีเจอร์สแกนหน้าเพื่ออนุมัติรายการโอนและถอนเงินตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โดยก่อนหน้านี้ ทรูมันนี่ ได้พัฒนาและนำระบบสแกนหน้าที่ใช้เทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์ (Biometric) หรือการอ่านข้อมูลชีวมิติเพื่อตรวจจับอัตลักษณ์บุคคล ที่พัฒนาร่วมกับบริษัท ZOLOZ ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันและเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนแบบ Biometric ระดับโลก มาใช้ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม 2565 เพื่อเสริมฟีเจอร์และบริการด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมหลากหลายการใช้งานของทรูมันนี่
โดยในระบบความปลอดภัย TrueMoney Secure ในปัจจุบันนั้นครอบคลุมถึงการเรียกยืนยันตัวตนผ่านระบบสแกนใบหน้าเมื่อมีการใช้งานบัญชีบนอุปกรณ์ใหม่ และเมื่อระบบตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติ, การตรวจสอบ แจ้งเตือน และหยุดธุรกรรมแปลกปลอมในทันที,  การแจ้งเตือนและปิดกั้นการล็อกอินแบบรีโมทจากอุปกรณ์อื่น เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่สวมรอยเข้าถึงอุปกรณ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บัญชี  และให้บริการสายด่วน 1240 กด 6 รับแจ้งเหตุต้องสงสัยด้านภัยทางการเงิน และแจ้งอายัดบัญชี ตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หากสงสัยเกรงจะตกเป็นเหยื่อ สามารถปรึกษาได้ที่ สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือศูนย์ PCT 081-866-3000 ทั้งนี้ ผู้เสียหายสามารถแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ทรูมันนี่ true money

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)