x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

10 รอยร้าวของบ้าน - ทาวน์เฮ้าส์ที่เราควรรู้

icon 8 ก.พ. 65 icon 53,964
10 รอยร้าวของบ้าน - ทาวน์เฮ้าส์ที่เราควรรู้
หลายๆ ท่านที่ซื้อบ้าน หรือทาวน์เฮ้าส์ใหม่อาจจะเคยเจอปัญหากวนใจที่เรียกว่า "รอยร้าว" ของผนังและเพดาน วันนี้ Checkraka ขอนำเสนอบทความดีๆ จากหนังสือ "ชนิดของรอยร้าว (1) และ (2)" ซึ่งจัดทำขึ้นโดย "คณะอนุกรรมการคลินิกช่าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์" มาให้พวกเราดูเพื่อความเข้าใจเบื้องต้น และหาทางแก้ไข หรือซ่อมแซมกันต่อไปครับ โดยหนังสือเล่มนี้ได้แบ่งรอยร้าวเป็น 3 กลุ่มดังนี้
ประเภทรอยร้าวเนื่องจากวัสดุเสื่อมคุณภาพ 

1. รอยแตกลายงาที่ผนัง

เกิดจากปูนฉาบสูญเสียน้ำ หรือระเหยออกอย่างรวดเร็ว (อาจเป็นเพราะอิฐก่อดูดซับน้ำ อุณหภูมิภายนอกสูง หรือทรายมีส่วนผสมของฝุ่นมากเกินไป) ทำให้ผนังเกิดการไม่ยึดตัว และเกิดรอยแตกลายงา รอยร้าวประเภทนี้จะไม่เกิดอันตรายกับตัวโครงสร้าง จะมีผลแค่ด้านความสวยงามบนผนัง การซ่อมแซมให้ลองเคาะผนังเพื่อตรวจสอบการยึดเกาะของปูน หากเคาะแล้วไม่ได้ยินเสียงทึบ แนะนำให้สกัดและฉาบใหม่

ภาพตัวอย่างรอยแตกลายงาที่ผนัง (ขอขอบคุณรูปภาพจาก 
http://www.weberthai.com/)

2. รอยแตกร้าวจนถึงเหล็กเสริม

 เกิดจากเหล็กเสริมเป็นสนิม อาจเป็นเพราะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหนาน้อยเกินไป หรืออยู่ในสภาพที่ชุ่มน้ำ และแห้งสลับกัน หรือคุณภาพของคอนกรีตไม่ได้มาตรฐาน หากเกิดรอยร้าวประเภทนี้ ควรติดต่อวิศวกรเพื่อมาตรวจสอบ เพราะมีผลต่อโครงสร้างอาคาร อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้

ภาพตัวอย่างรอยแตกร้าวจนถึงเหล็กเสริม (ขอขอบคุณรูปภาพจาก http://www.saangbaan.com/)
ประเภทรอยร้าวเนื่องจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง

3. รอยแตกร้าวช่วงกลางคาน

รอยร้าวจะเกิดขึ้นช่วงใต้ท้องคาน บริเวณช่วงกึ่งกลางความยาวมีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) คือแตกจากด้านล่าง และต่อเนื่องในแนวดิ่งทั้งสองด้าน โดยรอยแตกด้านล่างจะยาวกว่าด้านข้างเมื่อแอ่นตัวมากขึ้นเรื่อยๆ รอยร้าวจะเกิดเพิ่มขึ้นเป็นหลายแนวขนานกัน มีลักษณะเป็นปล้องๆ และเพิ่มเป็นคู่ๆ ขนาบรอบรอยแตกที่เกิดเริ่มแรก หากพบรอยร้าวลักษณะนี้ ให้รีบย้ายสิ่งของที่อยู่เหนือรอยร้าวออกมาโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

 ภาพตัวอย่างรอยแตกร้าวช่วงกลางคาน (ขอขอบคุณรูปภาพจาก 
http://pantip.com/)

4. รอยแตกร้าวปลายคาน

รอยร้าวเริ่มเกิดขึ้นที่ด้านบน และแตกร้าวลงด้านข้างของคาน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแนวดิ่งและแนวเฉียง นอกจากนี้ ยังอาจมีการแตกร้าวในลักษณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งด้วย ซึ่งทั่วไปรอยร้าวที่ปลายคาน จะเกิดขึ้นภายหลังจากเกิดรอยร้าวที่กลางคาน   

5. รอยร้าวท้องพื้นชนิดเสริมเหล็กทั้งสองทาง

หากเพดานที่ไม่มีคาน รอยร้าวอาจจะเกิดขึ้นที่เพดานช่วงกลาง ราวเฉียงบริเวณกึ่งกลางเพดานเข้าหาเสามุมทั้ง 4 มุม อาจเกิดให้เห็นทั้ง 4 รอยหรือน้อยกว่า 

6. รอยร้าวท้องพื้นชนิดเหล็กเสริมทางเดียว

รอยร้าวจะเกิดขึ้นบริเวณกลางเพดาน เป็นเส้นตั้งฉากกับแนวเหล็กเสริมเพดาน

ภาพตัวอย่างรอยแตกร้าวท้องพื้นชนิดเสริมเหล็กทางเดียว (ขอบคุณรูปภาพจาก http://pantip.com/)

7. รอยร้าวขอบพื้นด้านบน

เมื่อพื้นแอ่นตัวเพราะรับน้ำหนักเกินกำลัง จะเกิดรอยร้าวที่พื้นบริเวณขอบคานทั้ง 4 ด้านและที่มุมเสา รอยร้าวดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากเจอรอยร้าวแบบนี้ ควรเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาออกจากบริเวณดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
ประเภทรอยร้าวจากการทรุดตัวของฐานราก

8. รอยแตกร้าวแนวเฉียงบริเวณกลางผนัง

อาจเกิดขึ้นหลายเส้นขนานกัน โดยรอยแตกแต่ละเส้นจะมีความกว้างตรงกลางเส้นมากกว่าที่ปลาย และจะกว้างและยาวขึ้นเรื่อยๆ ถ้าฐานรากยังคงทรุดตัวต่อเนื่อง หากลากเส้นตั้งฉากกับรอยแตกร้าว ปลายเส้นด้านชี้ลงดินจะเป็นตัวชี้ว่า ฐานรากด้านนั้นเกิดการทรุดตัว สาเหตุเกิดจากการทรุดตัวของฐานราก ควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญรีบแก้ไขโดยเร่งด่วน 

ภาพตัวอย่างรอยแตกร้าวเฉียงบริเวณกลางผนัง (ขอบคุณรูปภาพจาก http://free-architect.blogspot.com/)

9. รอยร้าวที่ผิวบนของพื้นบริเวณคาน

รอยร้าวประเภทนี้จะอยู่บนบริเวณพื้นโดยจะเกิดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง รอยแตกจะขนานกับแนวยาวของคาน สาเหตุเกิดจากฐานรองรับเสาด้านตรงข้ามเกิดทรุดตัว ควรรีบแก้ไขโดยด่วน 

10. รอยร้าวที่เสา

เสาต้นที่วางอยู่บนฐานรากที่ทรุดตัวน้อย หรือไม่ทรุดตัวเลย (A และ B ตามรูป) จะถูกดึงรั้งจากฐานรากที่ทรุดตัวมากจนเกิดการโก่งงอ และเกิดรอยร้าวแนวนอนหลายแนว มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดพลาสติกที่ถูกดัดให้โค้งงอ ด้านหนึ่งจะแตกเป็นปล้องๆ แนวนอนในลักษณะเดียวกัน และโดยทั่วไป เสาที่วางบนฐานรากที่ทรุดตัว (C ตามรูป) จะไม่แตกร้าว ทำให้สามารถวิเคราะห์หาตำแหน่งฐานรากที่ทรุดตัวลงได้ 
สุดท้ายนี้ คำแนะนำอย่างหนึ่งของคณะอนุกรรมการคลินิกช่างคือ เมื่อพบรอยร้าวในอาคารยังไม่จำเป็นต้องรีบซ่อมทันที ให้ทำการติดตามตรวจสอบรอยร้าวดังกล่าวว่า มีความยาว และความกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ หากพบว่ามีความยาว และความกว้างเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายแล้ว ให้แจ้งวิศวกรเข้ามาตรวจสอบปัญหา และแก้ไขโดยเร็วได้เลย ดังนั้น ไม่ว่ารอยร้าวประเภทไหนก็ควรจะศึกษาหาต้นเหตุ และแก้ไขนะครับ เพื่อบ้านจะได้อยู่กับเราต่อไปนานๆ ครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง บ้าน ทาวน์เฮาส์ รอยร้าวของบ้าน บ้านร้าว แตกลายงา
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)