กสิกรไทยประเมินวิกฤติยูเครน จับตามาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย กระทบส่งออกและการฟื้นตัวของไทย

ข่าว icon 28 ก.พ. 65 icon 1,761
เคแบงก์ ชี้ผลกระทบวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนต่อประเทศไทยขึ้นกับความยืดเยื้อและรุนแรง  โดยภาพรวมขณะนี้ทำน้ำมันพุ่ง ต้นทุนธุรกิจและราคาสินค้าเตรียมขยับ ฝั่งลูกค้าของเคแบงก์ที่มีธุรกิจส่งออกไปรัสเซีย-ยูเครนยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ให้จับตามาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียของนานาประเทศที่อาจส่งผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ  ระบุหากยื้อยาวเศรษฐกิจโลกจะเกิดภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูง และไทยจะได้รับกระทบหนักและยาวหลังจากเพิ่งฟื้นตัวจากโควิด-19
 
 
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบกับภาคการส่งออกของประเทศไทยจากสถานการณ์กองทัพรัสเซียเข้าโจมตียูเครนขึ้นอยู่กับการขยายวงความรุนแรง และมาตรการตอบโต้โดยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากนานาประเทศ สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทยในขณะนี้คือราคาน้ำมัน ยิ่งสถานการณ์มีความตึงเครียด ยิ่งส่งผลต่อต้นทุนพลังงาน ต้นทุนธุรกิจ ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นด้านที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ขณะที่ตลาดเงินตลาดทุนของไทยมีความผันผวนสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนอาจย้ายไปสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง
 
สำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของธนาคารกสิกรไทยที่มีการค้าขายกับคู่ค้าในรัสเซียและยูเครน ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการเกษตร อุปกรณ์ก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ อย่างไรก็ตามมูลค่าการค้าขายกับคู่ค้าในรัสเซียและยูเครนมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมด โดยธนาคารได้ติดตามสถานการณ์ระหว่างยูเครนและรัสเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้คำแนะนำกับลูกค้าให้ระมัดระวังเรื่องการทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศกับทั้ง 2 ประเทศในช่วงนี้ เนื่องจากสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน กรณีมีการนำเข้า-ส่งออก หรือธุรกรรมโอนเงินกับทั้ง 2 ประเทศ อาจมีความเสี่ยงได้รับเงินล่าช้า ทั้งกรณีคู่ค้าที่อยู่ในประเทศไทย รัสเซีย ยูเครน
 
นายพัชร กล่าวต่อว่า สิ่งที่ต้องติดตามคือ สถานการณ์ดังกล่าวจะยกระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหรือไม่ รวมถึงประเด็นสำคัญคือ มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (Economic Sanctions) จากประเทศต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินของรัสเซีย และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในยุโรป รวมถึงสถาบันการเงินและภาคธุรกิจของยุโรปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในรัสเซีย ซึ่งอาจทำให้การค้าระหว่างไทย-รัสเซีย-ยูเครน มีอุปสรรคในการทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการหาธนาคารรับรอง การเปิดบัญชีธุรกิจข้ามชาติ (แอล/ซี) การชำระเงิน การโอนเงินต่าง ๆ เป็นต้น และหากสถานการณ์พลิกผันไปสู่สงครามที่ขยายวงกว้าง เศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะหดตัว และเกิดภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงจากราคาพลังงานที่พุ่ง (Stagflation) แต่เชื่อว่า หลายฝ่ายมีความพยายามที่จะเจรจาให้มีข้อยุติโดยเร็ว โดยธนาคารกสิกรไทยจะเฝ้าระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของลูกค้า และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป 
 
 
ทั้งนี้ ในปี 2564 ไทยส่งออกไปรัสเซียมีมูลค่าประมาณ 1,028 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตสูงถึง 42% โดยการส่งออกไปรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนราว 0.4% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปตลาดโลก ขณะที่สินค้าส่งออกหลักของไทยไปตลาดรัสเซีย ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกล ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้หลายรายการเป็นการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ที่ไทยได้รับจากกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช หรือ CIS (Commonwealth of Independent States มีสมาชิก 12 ประเทศ รวมรัสเซีย)
 
ส่วนยูเครนนั้น ในปี 2564 ไทยส่งออกไปเป็นมูลค่าประมาณ 135 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตสูง 35.7% เช่นกัน แต่สัดส่วนยังน้อยอยู่มาก โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เป็นต้น
 
ข้อมูลเพิ่มเติม – การส่งออกของประเทศไทยไปยังรัสเซีย และยูเครน
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
 
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

กสิกรไทย ประเมิน วิกฤติยูเครน

ข่าวและอีเว้นท์เศรษฐกิจล่าสุด



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)