ในปี 2015 หรือปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือที่เรียกย่อๆ กันว่า AEC (ASEAN Economic Community) ที่ประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ อันได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว กัมพูชาและพม่า เวลานี้ข่าวสารของการเตรียมความพร้อมหรือการถามหาความพร้อมของไทยในการก้าวเข้าสู่ AEC มีให้เห็นทุกอุตสาหกรรม เรียกได้ว่ามีการสัมนาถึงประเด็นดังกล่าวแทบจะทุกอาทิตย์เลยก็ว่าได้เพื่อให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ ตื่นตัวและปรับองค์กร หรือวางแผนการทำธุรกิจที่พร้อมรับมือ รวมถึงทำให้เกิดโอกาสกับตนเองเมื่อเวลานั้นมาถึง ถ้ามองในภาพใหญ่ การที่ 10 ประเทศรวมกลุ่มกันเพื่อทำการค้า ทำให้ประเทศในภูมิภาคอื่นหันมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น และจะก่อเกิดให้การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเชื่อมโยงถึงกันนำความเจริญมาสู่ภูมิภาคอาเซียน ถามว่าในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเปิด AEC แล้ว ก็จะมีทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ทางด้านการค้า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่พูดถึงนี้จะก่อให้เกิดสาธารณูปโภคที่เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างสะดวกทั้งในประเทศเอง และระหว่างประเทศด้วยกัน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะมาจากจีนผ่านไทยไปยังสิงคโปร์ หรือการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศ เป็นต้น เมืองหรือชุมชนที่มีโครงการคมนาคมสายหลักตัดผ่านก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เกิดตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในจังหวัดภูมิภาค เมืองการค้าชายแดนเจริญเติบโตรวดเร็ว เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อการเดินทางเข้า-ออกเป็นไปอย่างสบายเกิดการติดต่อทำการค้าระหว่างกันได้อย่างสะดวก และมีการเคลื่อนย้ายคนแบบไปมาหาสู่กัน ประเทศไทยมีประชากรอยู่ 60 ล้านคน เมื่อรวมกับ 9 ประเทศจะมีประชากรจำนวน 613 ล้านคน ก็จะเกิดการเดินทางและมีความต้องการอสังหาฯ ประเภทสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ เพื่อเช่าสำหรับชาวต่างชาติมากขึ้น และเป็นโอกาสของคอนโดมิเนียมด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับนักพัฒนาอสังหาฯ รายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อความเจริญแผ่ขยายตัวไปยังภูมิภาคมากขึ้นจะมีช่องทางในการสร้างตลาดใหม่ๆ หลีกหนีตลาดเดิมๆ ในกรุงเทพฯ ที่มีคู่แข่งมากขึ้น หรืออาจเป็นโอกาสอันดีที่จะออกแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นที่รู้กันดีว่าจะต้องมีการขยายการเติบโตของรายได้ทุกปีเพื่อสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้น โดยอาจจะมีการจับมือกันระหว่างประเทศ เพราะการเข้าไปลงทุนในประเทศหนึ่งประเทศใดก็จะต้องมีนักลงทุนท้องถิ่นเข้ามาถือหุ้นด้วย จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะตลาดที่อยู่อาศัยในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกันจำต้องศึกษาตลาดให้ดี นอกจากนั้นแล้วยังมีเรื่องกฏหมายต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคของการเข้าไปลงทุนจำเป็นจะต้องพื่งพานักลงทุนท้องถิ่นที่มีความชำนาญ อาทิ ประเทศพม่าที่มีการประกาศว่าได้คลอดกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่แล้ว แต่ก็มีการดึงกลับไปไม่ลงสนามเสียที ประชาชนพม่าขาดความเชื่อถือในธนาคาร จะนิยมเก็บเงินสดไว้ในบ้าน หรือแปลงเงินสดเป็นรถยนต์ เป็นโอกาสที่นักพัฒนาอสังหาฯไทยจะเข้าไปลงทุนในตลาดคอนโดมิเนียมเพราะมีสินค้าในตลาดไม่มากและมักจะเป็นห้องขนาดใหญ่แบบ 4 ห้องนอน หาห้องที่มีขนาด 2 ห้องนอนได้น้อยมากแต่มีความต้องการที่เยอะ และมีเงินสดพร้อมซื้อ ด้านเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ก็มีจำนวนห้องน้อย ในย่างกุ้งมีเพียง 6 แห่งเท่านั้น แต่มีคนลงชื่อจองเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกันกับโรงแรมหายาก ห้องพักมีน้อย และราคาห้องสูงมาก รวมถึงอาคารสำนักงานที่มีค่าเช่าแพงอยู่ที่ 4,500 บาท/ตร.ม. และมีจำนวนน้อย ส่วนตลาดเวียดนาม รัฐบาลมีปัญหาในการเรียกเวนคืนที่ดินเพราะให้ในราคาที่ต่ำจึงเกิดการต่อต้าน กฎหมายมีความไม่แน่นอนหากจะไปลงทุนในเวียดนามจะต้องมีสายป่านที่ยาวเพื่อรองรับการลงทุน ด้านอสังหาฯ ในเวียดนามตลาดล่างต้องพึ่งพาสินเชื่อบ้าน ในขณะที่ธนาคารของเวียดนามเองก็ไม่ปล่อยสินเชื่อบ้านในกลุ่มตลาดดังกล่าว ในปัจจุบันมีนักพัฒนาอสังหาฯจากไทย ขยับไปลงทุนในต่างประเทศบ้างแล้ว อาทิ แลนด์ แอนด์ เฮาส์ ที่กำลังจะเข้าไปซื้ออสังหาฯ ที่สหรัฐอเมริกา บริษัท พฤกษาฯ ที่เข้าไปลงทุนที่อยู่อาศัยในอินเดีย และมัลดีฟส์ บริษัท แสนสิริฯ ที่ไปซื้ออพาร์ตเมนต์ที่ประเทศอังกฤษ และบริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟคฯ ที่เข้าไปซื้อโรงแรมและรีสอร์ตในญี่ปุ่น และยังเตรียมพัฒนาคอมมิวนิตี มอลล์อีกด้วย |
เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้
ประเภทคุกกี้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ |
ยินยอม / ไม่ยินยอม |
---|---|
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ (Strictly Necessary) |
|
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์ (Functionality) |
|
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์ (Performance & Analytics) |
|
คุกกี้เพื่อการตลาด (Marketing) |