ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

การ "เลือกน้ำมันเครื่องที่ใช่ ไม่ใช่เรื่องยาก"

icon 19 เม.ย. 64 icon 3,712
การ "เลือกน้ำมันเครื่องที่ใช่ ไม่ใช่เรื่องยาก"

การ "เลือกน้ำมันเครื่องที่ใช่ ไม่ใช่เรื่องยาก"   

เครื่องยนต์ในรถยนต์จำเป็นต้องมี "สารหล่อลื่น" หรือ "น้ำมันเครื่อง" เพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมทั้งปกป้องจากการสึกหรอทุกครั้งที่ใช้งาน

น้ำมันเครื่อง คงเป็นคำคุ้นเคยของเจ้าของรถ แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าน้ำมันเครื่องสำคัญอย่างไร ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำ และน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมส่งผลต่อเครื่องยนต์อย่างไร ถึงแม้ในคู่มือรถจะระบุประเภทน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมไว้อยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตน้ำมันเครื่องต่างพัฒนาน้ำมันเครื่องหลายเกรดหลายชนิดออกมาเพื่อเพิ่มตัวเลือกให้ผู้บริโภคและตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น จึงอาจทำให้เจ้าของรถสับสนว่าควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องประเภทใดที่เหมาะกับรถคู่ใจของตนเอง 

น้ำมันเครื่อง หัวใจของเครื่องยนต์

น้ำมันเครื่อง คือ สารหล่อลื่นที่คั่นกลางระหว่างผิวของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ทำหน้าที่เป็นฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนโลหะ ช่วยลดการเสียดสีและการสึกหรอของวัตถุโลหะ ขณะที่มีการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาสตาร์ทรถ นอกจากนี้ น้ำมันเครื่องยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ช่วยระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม การกัดกร่อน คราบเขม่า และการสะสมสิ่งสกปรกและผงโลหะที่อาจทำให้เกิดการอุดตันภายในชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ไปจนถึงการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่นซึ่งช่วยรักษาคุณภาพน้ำมัน ซึ่งหากน้ำมันเครื่องหนืดไปหรือหนืดน้อยไป น้ำมันเครื่องจะไม่สามารถไหลเวียนและให้การหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและยังช่วยให้รถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนตัวช่วยสูบฉีดหัวใจของเครื่องยนต์ให้ทำงานได้เต็มที่

เกรดและประเภทของน้ำมันเครื่อง

เกรดหรือความหนืดของน้ำมันเครื่อง บ่งบอกถึงความข้นหรือแรงต้านต่อการไหลเทของน้ำมันเครื่อง โดยเราสามารถทราบความหนืดของน้ำมันเครื่องซึ่งเหมาะกับช่วงอุณหภูมิสภาพแวดล้อมได้จากการสังเกตชุดตัวเลข "XW-XX" โดยตัวเลขที่อยู่หน้า W ซึ่งย่อมาจากคำว่า "Winter" คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่อุณหภูมิต่ำ ในขณะที่เลขข้างหลัง W คือค่าความหนืดของน้ำมันในอุณหภูมิสูง ค่าตัวเลขมากยิ่งมีความหนืดมาก และในทางกลับกัน ค่าตัวเลขน้อยแสดงว่าน้ำมันเครื่องนั้นมีความหนืดน้อย โดยน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม เช่น 5W-30, 0W-20 หรือ 10W-30 ที่ช่วยให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ดีทั้งในอุณหภูมิต่ำและสูง 
ส่วนน้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยวเช่นเบอร์ 40 นั้น ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อการสตาร์ทรถในขณะเครื่องยนต์เย็น หรืออัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่มากกว่าและอัตราเร่งที่ด้อยลง จึงขอแนะนำให้ใช้ในกรณีที่ผู้ผลิตรถยนต์รุ่นนั้นๆกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเท่านั้น

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

ส่วนประเภทของน้ำมันเครื่อง มี 3 ประเภทหลัก ได้แก่
  • น้ำมันแร่ (Mineral oil) คือน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งมักมีราคาต่ำกว่าน้ำมันเครื่องประเภทอื่น
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Full synthetic oil) คือน้ำมันเครื่องที่ผลิตด้วยกรรมวิธีทางเคมีและกลั่นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง จึงมักมีประสิทธิภาพและราคาที่สูงกว่าน้ำมันเครื่องประเภทอื่น
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-synthetic oil) คือน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันแร่ผสมกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้สูงกว่าน้ำมันแร่ แต่ราคาไม่สูงเท่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

เลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะสม


เนื่องจากในท้องตลาด มีผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีเกรดและประเภทของน้ำมันเครื่องอีกมากมาย เจ้าของรถจึงควรมีความรู้เบื้องต้นเพื่อเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับรถยนต์และการใช้งาน โดยวิธีง่ายที่สุดคือค้นหาจากคู่มือผู้ใช้รถซึ่งจะระบุเกรดของน้ำมันเครื่องและมาตรฐานที่เหมาะสมกับรถยนต์รุ่นนั้นๆ และเลือกน้ำมันเครื่องที่มีเกรดตรงตามที่กำหนด โดยดูได้จากฉลากข้างแกลลอนน้ำมันเครื่อง
  • ความหนืดของน้ำมันเครื่อง แนะนำให้เลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำสุดที่ระบุไว้ในคู่มือผู้ใช้รถ ซึ่งจะช่วยให้รถยนต์สตาร์ทติดง่าย ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และอัตราเร่งดีเยี่ยมกว่าน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูง
  • เกรดมาตรฐานของน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะมีหลายเกรดมาตรฐาน เช่น API, ACEA, ILSAC หรือมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อกำหนดขึ้นเพื่อให้เหมาะกับเครื่องยนต์รุ่นนั้น เช่น VW 508.00 หรือ Ford WSS-M2C913-D โดยให้เลือกตามมาตรฐานที่กำหน
  • ประเภทของน้ำมันเครื่อง  สำหรับผู้ที่ต้องการน้ำมันเครื่องที่ให้การปกป้องเครื่องยนต์อย่างดีเยี่ยมเพื่อสมรรถนะของเครื่องยนต์สูงสุด ควรใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์คุณภาพสูงที่ออกแบบเพื่อให้มีการคงคุณสมบัติของน้ำมันที่ดีเยี่ยมตลอดการใช้งานกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์หรือน้ำมันแร่ 

ระยะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง


นอกจากจะเข้าใจถึงความสำคัญและรู้จักประเภทของน้ำมันเครื่องแล้ว การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อครบระยะหรือหมดอายุการใช้งานเป็นประจำก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะถือเป็นการรักษาความสะอาดเครื่องยนต์ โดยรถยนต์ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ 10,000 กม. หรือ 6 เดือนแล้วแต่กรณีใดจะถึงก่อน แม้ว่าจะใช้รถไม่ครบเลขกิโลเมตรที่กำหนด แต่ก็ควรนำรถเข้ารับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและตรวจเช็คระยะอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน เนื่องจากในขณะที่รถติดเครื่องยนต์ก็ยังคงทำงานตลอดเวลา ซึ่งทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลา แน่นอนว่า 
ในการดูแลรถคู่ใจก็ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่อาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการดูแล ที่ควิกเลน ศูนย์บริการยางและรถยนต์ มาตรฐานระดับโลก เจ้าของรถสามารถนำรถเข้ารับบริการ โดยช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องยนต์ อีกทั้งยังให้บริการตรวจเช็คสภาพรถยนต์เบื้องต้นฟรี 30 รายการ ควิกเลนเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 น. โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องนัดล่วงหน้า สามารถตรวจสอบสาขาที่ให้บริการใกล้บ้านท่านได้ที่ www.th.quicklane.com/th/locations
แท็กที่เกี่ยวข้อง ความปลอดภัย ขับรถ ดูแลรถ ความรู้รถยนต์ ความรู้รถ บำรุงรักษารถ ตรวจเช็ครถ
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)