ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ที่เที่ยวพร้อม คุณพร้อม แล้วรถพร้อมหรือยัง? มาเช็ครถกันเถอะ

icon 12 เม.ย. 61 icon 17,026
ที่เที่ยวพร้อม คุณพร้อม แล้วรถพร้อมหรือยัง? มาเช็ครถกันเถอะ

ที่เที่ยวพร้อม คุณพร้อม แล้วรถพร้อมหรือยัง? มาเช็ครถกันเถอะ

เป็นเรื่องที่ต้องออกมาคอยเตือนกันอยู่เป็นประจำทุกๆ ปีเรื่องความปลอดภัยในช่วงวันหยุดยาว อย่าง "เทศกาลสงกรานต์"  ที่กำลังจะมาถึง เทศกาลที่หลายๆ คนรอคอยจะเดินทางกลับไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือท่องเที่ยวเพื่อใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว เพื่อความปลอดภัยตลอดการเดินทาง ก็จะต้องมีการเตรียมพร้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนเส้นทาง การเตรียมตัว เตรียมรถ ก็จะช่วยให้คุณและคนที่รักผ่านพ้นช่วงเทศกาลแห่งความสุขได้อย่างปลอดภัย 

ร่างกายพร้อม?
สาเหตุของอุบัติเหตุบนถนนของไทย สาเหตุหลักมักมาจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูงเกินกำหนด, ขาดวินัยจราจร และที่สำคัญคือ "เมาแล้วขับ" แม้ว่ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ จะมีระบบช่วยเหลือ, ป้องกัน มากมาย แต่ผู้ขับขี่ก็ต้องพร้อมที่จะควบคุมรถยนต์อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นก่อนจะขับขี่จำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีสติตลอดเวลาที่ขับขี่ 

รถพร้อม?
เมื่อร่างกายพร้อม รถที่จะใช้เดินทางก็ต้องพร้อมด้วยเช่นกัน ก่อนจะออกเดินทางไกลหากเป็นไปได้ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็คความพร้อมของรถเพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในสภาพพร้อมเดินทาง หรือถ้าไม่มีเวลาเข้าศูนย์บริการก็สามารถตรวจเช็คเองเบื้องต้น ด้วยการสังเกตรอยรั่ว ซึม ตามชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ว่ามีส่วนใดมีร่องรอยหรือไม่ ถ้ามีก็จะได้เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมทันที

เอ๊ะ มีน้ำหรืออะไรหยดไหมหนอ?

คันโยกเปิดฝากระโปรงหน้าตาแบบนี้ดึงเข้าหาตัวได้เลย

สังเกตรอยรั่วซึมรอบๆ เครื่องยนต์และส่วนประกอบต่างๆ ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่
หากรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊สทั้งแบบ LPG หรือ NGV ให้ตรวจสอบเบื้องต้นด้วยการดม! เพื่อหากลิ่นแก๊สรั่ว และการสัมผัสหรือจับๆ บีบๆ ขยับๆ ตามท่อส่งแก๊สต่างอย่างเบาะ เพื่อดูว่ารอยท่อต่างๆ แน่นหรือไม่ ซึ่งควรนำรถเข้าไปตรวจเช็คกับร้านที่ติดตั้งได้มาตรฐานอีกรอบก่อนออกเดินทาง

สวิตช์แก๊สทำงานปกติหรือไม่

หากเป็นรถติดตั้งระบบแก๊สทั้ง LPG หรือ NGV ให้ลองจับๆ ขยับตามท่อส่งแก๊สว่ามีหลุดหลวมหรือไม่  

หารอยร้าว

ไหนๆ ก็เปิดดูห้องเครื่องยนต์แล้วก็สังเกตท่อทางเดินต่างๆ ที่ใช้ยางเป็นวัสดุในการทำดูว่ามีแตกลายงา ร้าว ปริ หรือรั่วซึมหรือไม่ เช่น ท่อน้ำหม้อน้ำ ท่อน้ำมัน รวมถึงในรถที่ใช้ระบบแก๊สด้วยและเครื่องยนต์เทอร์โบที่ใช้ท่อยางเป็นท่อแรงดันในระบบด้วย

ท่อยางหม้อน้ำที่ดูแลง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

หากเครื่องยนต์แน่นขนาดนี้แนะนำเข้าศูนย์ไปเลยครับ

ของเหลวไม่พร่อง

ระบบน้ำหรือของเหลวต่างๆ เริ่มตั้งแต่ระดับน้ำในถังพักหม้อน้ำ, น้ำฉีดกระจก ไปจนถึงน้ำมันเบรกหรือคลัตช์ น้ำมันเครื่องยนต์ และน้ำกลั่นแบตเตอรี่ว่าพร่องลงหรือขาดมากกว่าครึ่ง หากพอจะรู้เรื่องเกี่ยวกับของเหลวต่างๆ ก็ให้รีบเติม หรือหากไม่สะดวกควรรีบนำรถเข้าศูนย์บริการอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าดูระดับของเหลวที่ลดต่ำลงมากๆ จนแทบหมดหรือต่ำกว่าระดับ "MIN" ซึ่งปกติควรอยู่ระดับ "MAX" นั้นให้เรียกช่างมาช่วยดูจะดีกว่าครับ หากเป็นน้ำมันเครื่องขาดมากๆ เครื่องยนต์อาจเสียหายได้   

หากเป็นแบตเตอรี่แบบไม่ต้องเติมน้ำกลั่นก็สบายไปดูแค่วันเดือนปีที่ติดตั้ง
อย่าเกิน 1 หรือ 1 ปี 5 เดือน หรือสังเกตตาแมวต้องเป็นสีฟ้าๆ 

ดูระดับในถังพักน้ำหากลดต่ำกว่าระดับ MAX เต็มพอดีอย่าล้นนะครับ เหลือที่ให้น้ำเดือดไว้บ้างจะได้ไม่ดันออกมา

ห้ามเติมบนฝาหม้อน้ำโดยตรง

สภาพดอกยางและลมยาง

ดอกยางควรเหลือไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร หรือลองใช้เหรียญบาทวางระหว่างร่องดอกยางควรเหลือ 1 ใน 3 ของตัวเหรียญ นอกจากนี้เนื้อยางต้องนิ่ม กดหรือจิกด้วยเล็บต้องมีรอยยุบลงไปและคืนตัว แก้มยางหรือหน้ายางต้องไม่แตกลายงา และสุดท้ายดูปีผลิตยางว่าใช้งานมากี่ปีแล้ว แม้ว่าโดยปกติอายุยางจะอยู่ราวๆ 4 ปี แต่ด้วยสภาพอากาศและถนนอันโหดร้ายในประเทศไทยอาจทำให้อายุขัยสั้นลงจึงควรใช้ยางไม่เกิน 2 หรือ 3 ปี (ขึ้นกับสภาพยางโดยรวมด้วย) เช่น ยางที่มีตัวเลข 2017 ผลิตสัปดาห์ที่ 20 ปี 2017 เทียบกับเวลาปัจจุบันดูว่า ยางมีอายุเหลืออีกประมาณกี่ปี เป็นต้น 
สำหรับลมหรือแรงดันลมยางควรดูตามมาตรฐานสเปคจากโรงงานในแผ่นป้ายที่ติดข้างตัวรถ เมื่อเปิดประตู เพื่อดูว่าควรเติมกี่ปอนด์ หากมีสัมภาระหรือบรรทุกมากกว่าปกติไม่มากนัก ก็ควรเติมเพิ่มเผื่อไว้อีกประมาณ 2 - 4 ปอนด์ เช่น สเปคระบุว่า 28 ปอนด์ หากบรรทุกหนักก็เพิ่มเป็น 32 เป็นต้น 

ร่องดอกยางต้องเหลือมากกว่า 2 มิลลิเมตร และเนื้อยางต้องนิ่มๆ 

ระบบไฟฟ้า

ตรวจเช็คระบบไฟรอบคันทั้ง ไฟหน้า ไฟสูง-ต่ำ ไฟเลี้ยว ไฟเบรก หรือตัดหมอก ว่าติดครบทุกดวงหรือไม่ หากมีหลอดใดขาดควรเปลี่ยนทันที เพื่อความปลอดภัยขณะเดินทาง

ระบบไฟติดครบปลอดภัยแน่
ระบบผ้าเบรกและเบรกมือ
มาถึงอีกจุดที่จำเป็นต้องใส่ใจเพิ่มขึ้นนั่นคือ ผ้าเบรกเราสมารถตรวจเช็คด้วยตาได้ โดยการดูที่ก้ามปูเบรกหรือคาลิปเปอร์นั่นเอง ให้ดูบริเวณตัวแผ่นผ้าเบรกที่สัมผัสแนบชิดกับจานนั่นเองว่าส่วนที่สัมผัสนั้นเหลือมากน้อยเพียงใด ซึ่งผ้าเบรกจะประกอบด้วย แผ่นเหล็กและแผ่นผ้าเบรกติดกัน หากตัวเนื้อผ้าเบรกหมดก็จะเหลือแต่เหล็กที่ขุดกับจานเบรกที่เป็นเหล็กด้วยกัน คิดสิว่าน่ากลัวขนาดไหน!

เล็งมุมดีๆ สักหน่อยก็จะมองเห็นผ้าเบรก

ฝั่งนี้เห็นชัดหน่อย สภาพนี้อย่างหนาตราช้างใช้ได้อีกยาว

ผ้าเบรกรถยนต์ ภาพจาก www.boschautoparts.com  

ส่วนเบรกมือให้ลองดึงดูว่ามีความตึงมากน้อยแค่ไหน ที่พอให้รถสามารถจอดได้ในพื้นลาดเอียงอย่างปลอดภัย หากรู้สึกว่าเบรกมือไม่สามารถหยุดรถได้ให้นำเข้าศูนย์บริการฯ เพื่อให้ช่างตั้งระยะตึงของเบรกมือให้แน่นขึ้น
ใบปัดน้ำฝน
ใบปัดน้ำฝนควรตรวจสภาพยางด้วยการใช้มือลูบดูว่ายางคงความนิ่มตัวอยู่หรือไม่ หากพบว่ายางมีความแข็ง กรอบ หรือฉีกขาด ควรเปลี่ยนทันที แม้จะเดินทางในช่วงที่ไม่ใช้หน้าฝน แต่อย่าลืมว่าตลอดเส้นทางนั้น อาจมีแอ่งน้ำหรือละอองน้ำจากรถคันอื่นที่กระเด็นมาที่กระจกรถเราได้เสมอครับ 

ใบปัดน้ำฝน แม้ไม่ใช่หน้าฝนก็ต้องใช้งานได้ดี

ใบปัดฝนหลังของรถยนต์ประเภทแฮตช์แบ็กยิ่งจำเป็น

ยกขึ้นแล้วจับๆ ดูที่ยางว่านิ่มหรือแข็ง
เช็คระบบช่วงล่างเบื้องต้น
ระบบช่วงล่างเช็คได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองคือ เมื่อออกรถมีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ เช่น แก๊กๆ กึกๆ หรือเวลาเลี้ยวมากๆ มีเสียงดังจากล้อหน้า (กรณีรถขับเคลื่อนล้อหน้า) หรือไม่ เช่น ดังแก๊กๆ กึกๆ ซึ่งหากมีเสียงดังแสดงว่าระบบบูชปีกนก, แร็คพวงมาลัย, เพลาเริ่มมีปัญหา ให้รีบนำรถเข้าศูนย์บริการด่วน ส่วนระบบโช้กอัพนั้นให้สังเกตการยุบตัวเมื่อขึ้นและลงเนินกระดก ว่านิ่มเกินไปหรือมีอาการเด้งขึ้น-ลงมากเกินไปหรือไม่ และอีกวิธีหนึ่งคือเมื่อขับที่ความเร็วระดับหนึ่งแล้วเปลี่ยนเลนตัวรถมีอาการยวบยาบมากน้อยเพียงใด เป็นต้น 

วางแผนเส้นทางที่จะใช้ล่วงหน้า
เพื่อให้สามารถคำนวณเวลาการเดินทางได้ ผู้ขับควรวางแผนเส้นทางที่จะใช้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง โดยอาจจะใช้ระบบนำทางในรถที่มีติดตั้งมาให้ในหลายๆ รุ่น ถ้าสะดวกหน่อยก็เป็นการใช้แอปพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด

มีน้ำใจให้เพื่อนร่วมทาง
ช่วงเทศกาลที่ทุกๆ คนต่างอยากที่จะเดินทางไปให้ถึงจุดหมายปลายทางเหมือนๆ กันนั้น แน่นอนสิ่งที่จะต้องพบเจอคือ สภาพการจราจรที่ติดขัดในบางช่วงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การมีน้ำใจแบ่งปันเพื่อนร่วมทางสลับกันไปไม่แย่งกันใช้ช่องจราจร ก็จะช่วยลดการแออัด เบียดเสียด ช่วยให้การจราจรลื่นไหล ทุกคนก็จะเดินทางถึงจุดหมายปลายทางพร้อมๆ กัน ที่สำคัญคุณและครอบครัวก็จะเดินทางอย่างปลอดภัย

ไม่ไหวก็จอดพัก
แน่นอนว่าการเดินทางไกล อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า การฝืนขับต่อไปไม่ได้ช่วยให้คุณไปถึงจุดหมายได้ไวขึ้นแต่กลับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุให้สูงขึ้นต่างหาก การแวะพักตามจุดพักรถหรือปั๊มน้ำมันบ่อยๆ นอกจากจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยแล้ว ยังมีห้องน้ำและร้านสะดวกซื้อไว้อำนวยความสะดวก ให้ครอบครัวได้ยืดเส้นยืดสาย ให้ผู้ขับขี่ที่มีอาการง่วง ได้พักล้างหน้าหรือพักสายตา หรือถ้ามีผู้ที่สามารถเปลี่ยนกันขับได้ก็จะได้แวะเปลี่ยนผู้ขับขี่ที่พร้อมกว่าเพื่อเดินทางต่อไป 

ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการเตรียมตัวง่ายๆ ในเบื้องต้นเพื่อความความปลอดภัยก่อนเดินทาง ดังนั้น เพื่อจะทำให้ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลวันหยุดของคุณสามารถเดินทางได้อย่างสบายใจและอุ่นใจในทุกเส้นทาง 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ท่องเที่ยว เตรียมรถให้พร้อมเดินทางไกล เดินทางไกล ครวจเช็ครถก่อนเดินทางไกล
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)