ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์

icon 13 ต.ค. 59 icon 195,590
เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์

เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์

รถยนต์ทุกคันเมื่อถึงกำหนดเวลาต้องบำรุงรักษา สิ่งแรกๆ ที่จำเป็นมากที่สุดคือ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหลังจากผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่ง ไม่ว่าจะ 5,000 กม. ไล่ไปจนถึง 20,000 กม. อย่างไรก็ต้องมีการเปลี่ยนของเก่าออก และเติมของใหม่แทนอย่างสม่ำเสมอ มาดูกันว่าเราจะ "เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร" ให้เหมาะสม ทั้งเครื่องยนต์และลักษณะการใช้งานหรือแม้แต่งบประมาณ

ทำไมจึงต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง!

เครื่องยนต์มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหวและมีการเสียดสีเกิดขึ้นตลอดเวลา ทุกครั้งที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยเฉพาะเวลาสตาร์ตเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนต่างๆ จะถูกเคลื่อนที่ทั้งการเสียดสี การหมุนขบกันของชุดฟันเฟืองต่างๆ และระบบเพลาลูกเบี้ยวที่กดบนวาล์ว เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีการสึกหรอทั้งสิ้น แต่ผู้ผลิตเครื่องยนต์ทราบดีและได้มีการออกแบบพื้นผิววัสดุภายในเครื่องยนต์ให้ทนต่อแรงเสียดทานได้ในระดับหนึ่ง

นอกนั้นก็คงต้องพึ่งพาน้ำมันหล่อลื่น เพื่อมาเคลือบเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ ให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างราบรื่นและลดการเสียดสีโดยตรงนั่นเอง ซึ่งสุดท้ายแล้ว "น้ำมันเครื่อง" ก็ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น หล่อลื่น ชะล้างสิ่งสกปรกภายในเครื่องยนต์ อุดช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนเล็กมากๆ ภายในเครื่องยนต์ และพาสิ่งสกปรกผ่านไส้กรองน้ำมันเครื่อง เพื่อกักเอาไว้ไม่ให้ไปทำอันตรายต่อชิ้นส่วนต่อไป ด้วยเหตุนี้เองเมื่อครบระยะหรือหมดอายุ เราจึงต้องเปลี่ยนถ่ายทิ้งซะ แล้วก็เติมอันใหม่เข้าไปแทน

น้ำมันเครื่องมีกี่ประเภท?

น้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 2 ประเภท โดยแบ่งตามเครื่องยนต์ตือ เบนซิน และดีเซล แม้ว่าจะเป็นไฮบริดหรือรถติดแก๊สก็ให้ดูว่าเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นเบนซินหรือดีเซล หากไม่แน่ใจหรือไม่ทราบจริงๆ ก็ดูคู่มือรถยนต์หรือ น้ำมันเชื้อเพลิงที่เราเติมก็ได้ นอกจากนี้ยังแบ่งตามความ "อึด" หรือระยะทางที่ต้องเปลี่ยนถ่ายของน้ำมันเครื่องแบบต่างๆ เช่น ทุกๆ 5,000 - 8,000 กิโลเมตร หรือ 10,000 - 15,000 กิโลเมตร หรือ 20,000 กิโลเมตร เป็นต้น

เครื่องยนต์เบนซิน โดยทั่วไปจะระบุเอาไว้ชัดเจนทุกรุ่นยี่ห้อทุกแบบว่า "Gasoline" ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลระบุด้วย "Pickup" "Diesel engine oil" เป็นต้น

สิ่งแรกที่ควรดู ก็คือดูว่าเรามีเวลาในการดูแลรถยนต์บ่อยมากน้อยแค่ไหน หากมีเวลามากก็เลือกชนิดที่เปลี่ยนถ่ายทุกๆ ระยะ 5,000 กิโลเมตร ก็นับว่าเพียงพอและประหยัดค่าใช้จ่ายในกระเป๋าไปได้มาก ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยไม่สะดวกเข้าบ่อยนักเลือก ระยะ 10,000 - 15,000 กิโลเมตร และสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาเลยก็เลือกแบบที่ถ่ายทุกๆ 20,000 กิโลเมตร ไปเลยครับ   
ในปัจจุบันผู้ผลิตน้ำมันเครื่องต่างก็เริ่มคิดค้นสูตรให้ใช้งานเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์หรือประเภทเชื้อเพลิงที่ใช้ เช่น สำหรับแก๊สแอลพีจีและเอ็นจีวี หรือสำหรับเครื่องยนต์เทอร์โบ, สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล เป็นต้น ซึ่งพื้นฐานเกรดน้ำมันยังอิงกับตัวเลขชุดเช่นเดิม เพียงเพิ่มสารเพิ่มคุณภาพต่างๆ เข้าไปตามสูตรใครสูตรมันนั่นเองครับ

ตัวเลขข้างแกลลอนน้ำมันดูอย่างไร?

การเลือกน้ำมันเครื่องตามระยะทางที่ต้องการจะใช้งานให้ดูที่ "ตัวเลข" และประเภทน้ำมัน เช่น 5W30, 10W40, 15W40,  20W50 และ SAE40 หรือ Fully synthetic (น้ำมันสังเคราะห์แท้), Semi synthetic (น้ำมันกึ่งสังเคราะห์แท้), multigrade (น้ำมันเครื่องเกรดรวม) หรือระบุว่า Pickup, Gasoline, LPG/NGV ซึ่งถูกกำหนดโดย SAE 
SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS (สมาคมวิศวกรรมยานยนต์) กำหนดให้ใช้อักษรย่อ SAE ตามด้วยเกรดความหนืดเป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 5 หรือ 0 เช่น 15, 30 หรือ 50 ฯลฯ เลขมากยิ่งหนืด เลขน้อยยิ่งใส เช่น 50 หนืดกว่า 40 และ 5 ใสกว่า 20 โดยวัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (210 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องที่ไหลเวียนขณะเครื่องยนต์ทำงาน

ภาพจาก www.machinerylubrication.com

ภาพจาก slideplayer.com
ตัวเลขชุดทั้งหลายนี้ เรียกว่า "เกรด" ของน้ำมัน ความหมายคือ ตัวเลขที่อยู่หน้า W น้ำมันสามารถรักษาสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่อุณหภูมิต่ำ ส่วนตัวเลขที่อยู่หลัง W หมายถึงความหนืดของน้ำมันภายใต้อุณหภูมิสูง 

ตัวอย่าง น้ำมันเครื่องของโททาล รุ่นควอซ 9000 ฟิวเจอร์ ตัวเลข 5W30 หมายถึง สามารถทำงานได้ดีในอุณหภูมิต่ำสุด -30 องศา (ซึ่งในไทยไม่น่าถึงนะ) W = winter (ซึ่งก็ไม่น่าจะมีในไทยอีก) ส่วนเลขตัวหลังนี้มีชัวร์ๆ ครับ และสำคัญมากเพราะเป็นการบอกถึงค่าความหนืดระดับเกรด 30 ในอุณหภูมิสูงประมาณ 100 องศา (แบบประเทศไทยจริงๆ) ซึ่งช่วงการทำงานปกติของเครื่องยนต์โดยประมาณอยู่ที่ 80 - 90 องศา ซึ่งอาจสรุปได้ว่า "ตัวเลขมาก-ยิ่งหนืด ตัวเลขน้อย - ยิ่งใส" และจุดประสงค์ของตัวเลขนี้ก็ใช้งานตามความเหมาะสมของเครื่องยนต์แต่ละแบบตามลักษณะการใช้งานอีกด้วย    
แล้วค่า API ก็คือ เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ตามหลังอักษรย่อ API ใช้ตัวอักษรย่อ S (STATION SERVICE-SPARK IGNITION) ตามด้วยเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ไล่จาก A, B,... และ N เช่น API SE, API SH จนถึง API SJ มี SN สูงสุด 
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล API ใช้ตัวอักษรย่อ C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) ตามด้วยเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ตั้งแต่ A, B,...และ J เช่น API CD, จนถึง API CF-4 มี CJ-4 สูงสุด ส่วนเลข 4 หมายถึง สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 

ตัวอย่าง น้ำมันเครื่องเอลฟ์ ระบุชัดเจนว่าสำหรับ DIESEL ความหนืด 20W50 หมายถึง มีค่าหนืดขณะอุณหภูมิต่ำที่ 20 และมีค่าความหนืดที่อุณหภูมิสูงที่ 50 แสดงว่าเป็นน้ำมันเครื่องชนิดทนต่อการใช้งานหนักมากๆ และสุดท้าย 6L คือ ปริมาณความจุกระป๋องนี้ 6 ลิตร

เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร ให้เหมาะกับรถคุณ

การเลือกใช้ค่าความหนืดต่างๆ น้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งรถใหม่ รถเก่า มีเกณฑ์ในการเลือกเหมือนกัน คือ
Fully synthetic น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% เช่น 0W30 5W30 5W40 เป็นต้น เหมาะกับเครื่องยนต์สมรรถนะสูง ต้องการการปกป้องอย่างรวดเร็วและทนรอบจัดได้ดี โดยเฉพาะเครื่องยนต์ที่มีระบบ Auto Start/stop มีระยะเปลี่ยนถ่ายอยู่ที่ 15,000 - 20,000 กิโลเมตร
Semi synthetic น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เช่น 10W40  15W40 15W50 เป็นต้น ใช้ได้กับเครื่องยนต์ทั่วไปทั้งสมรรถนะสูง หรือปานกลาง มีระยะเปลี่ยนถ่ายอยู่ที่ 8,000 - 10,000 กิโลเมตร
multigrade น้ำมันเครื่องธรรมดาที่ไม่ระบุว่าเป็นสังเคราะห์แท้ไม่กึ่งสังเคราะห์ เช่น 20W50 หรือ SAE40 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานานและต้องการความหนืดสูงๆ มาช่วยให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์มีความฟิต แน่นขึ้นโดยใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากๆ มาเป็นตัวอุดกั้นช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ (กรณีเครื่องยนต์สภาพสมบูรณ์ปกติ) ยกเว้นเครื่องยนต์หลวมที่ไม่สามารถใช้น้ำมันเครื่องมาช่วยได้นะครับ มีระยะเปลี่ยนถ่ายอยู่ที่ 5,000 กิโลเมตร
ข้อควรระวัง 
ก่อนเลือกเกรดของน้ำมันเครื่องต่างๆ อย่าลืมดูข้อความที่ระบุข้างแกลลอนน้ำมันว่า ใช้กับเครื่องยนต์ชนิดใดด้วย เพราะในปัจจุบันมีการระบุเอาไว้ชัดเจนทั้งสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน, ดีเซล หรือใช้ได้ทั้ง 2 ชนิด นอกจากนี้ยังมีระบุว่าใช้สำหรับเครื่องยนต์เบนซินเชื้อเพลิง LPG/NGV อีกต่างหาก และในสภาพการจราจรในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมืองหลวงที่รถติดมากๆ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องก่อนกำหนดอย่างน้อย 1,000 กิโลเมตร เพื่อชดเชยในการจอดติดเครื่องยนต์นิ่งๆ เวลารถติดนั่นเองครับ และไม่ต้องเสียดายน้ำมัน เพราะว่าการเปลี่ยนถ่ายบ่อยครั้ง ยิ่งช่วยให้เครื่องยนต์สะอาดมากขึ้น การถ่ายน้ำมันเครื่องก็เหมือนกับเอาสิ่งสกปรกที่ปะปนกับน้ำมันเครื่องทิ้งไปด้วย แต่ไม่ต้องกังวลว่าหากเลยระยะกำหนดไปเครื่องจะพังทันที เพราะคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นยังสามารถใช้งานต่อไปได้จากกำหนดระยะประมาณ 500 - 1,000 กิโลเมตร เพื่อให้สะดวกในการนำรถเข้าบริการ

การเลือกน้ำมันเครื่องมีปัจจัยหลายอย่างทั้งชนิดเครื่องยนต์ ลักษณะการใช้งาน งบประมาณ และไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันประเภทสังเคราะห์เสมอไป เพราะไม่ว่าเกรดใด ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นย่อมต้องคิดค้น พัฒนาให้เหมาะสม และมีคุณภาพมากที่สุด และการถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะทางกำหนดเป็นการยืดอายุเครื่องยนต์ คงประสิทธิภาพ พร้อมช่วยลดการเสียหายของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ และลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาได้อีกด้วยครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ น้ำมันเครื่อง เลือกน้ำมันเครื่อง การซื้อน้ำมันเครื่อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)